Boot
Loader
คือโปรแกรมสำหรับบูตระบบในขึ้นตอนแรก ๆ ซึ่งปกติจะถูกติดตั้งไว้ที่
MBR (Master Boot Record) ซึ่งเป็นเซ็กเตอร์แรกสุดในฮาร์ดดิสก์
หรือบางครั้งก็ติดตั้งไว้ที่เซ็กเตอร์แรกของบูตพาร์ทิชัน
บูตโหลดเดอร์ที่ใช้ในลินุกซ์จะนิยมใช้
2 ตัวคือ LILO และ GRUB
ปัญหาที่ทำให้
Boot Loader หายไป หรือไม่ทำงาน
เกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่พบบ่อยคือ มีการติดตั้ง Windows หลังการติดตั้ง
Linux แม้ว่าจะติดตั้งคนละพาร์ทิชันก็ตาม เพราะ Windows จะติดตั้ง
boot loader ของตัวเองทับ boot loader ของ Linux ผลคือบูตเมนูของ
Linux จะหายไป และระบบจะบูตเข้า Windows เสมอ หรือ การ Ghost Harddisk
การติดตั้ง
GRUB ซ้ำ
บูตด้วย CD ติดตั้ง Linux โดยที่หน้าจอแรกสุด พิมพ์ลงไปตรง prompt
ว่า linux rescue แล้วกด enter
จะพบหน้าจอให้คอนฟิกและบอกข้อมูลอะไรนิดหน่อย ให้กดผ่านไปได้เลย
จนกระทั่งได้ prompt ของระบบมา
พิมพ์คำสั่งดังนี้
#
chroot /mnt/sysimage
# grub-install /dev/hda
# exit
# exit
แล้วเครื่องจะรีบูต
และจะดีดแผ่นซีดีออกมา ให้เอาแผ่นออก แล้วลองบูตจะพบเมนูบูตของลินุกซ์
และบูตได้ตามปกติ
การติดตั้ง
LILO ซ้ำ
ทำคล้ายกับการติดตั้ง GRUB ซ้ำ แต่เปลี่ยนคำสั่งจาก # grub-install
/dev/hda เป็น # lilo เฉย ๆ
@ ปัญหาจาก Config ผิดแล้ว Boot
ไม่ได้
เช่นผมไป แก้ไข /etc/fstab เพิ่มไป 1 บรรทัด พอ Reboot เท่านั้นล่ะ
ไม่ได้เลย
ให้ใช้แผ่น ติดตั้ง แผ่นแรก boot ให้แล้วเลือก single user หรือบางตัวอาจเลือก
Linux Rescure
แต่ต้องใช้ vi ในการแก้ไข แถมใช้ลูกศร ก็ไม่ได้ ต้องใช้ ตัวอักษรเอา
การเปลี่ยนตำแหน่งของเคอร์เซอร์
k = ขึ้นบรรทัดบน 1 บรรทัด เหมือนปุ่มลูกศร ขึ้น
j = ลงบรรทัดล่าง 1 บรรทัด เหมือนปุ่มลูกศร ลง
h = ไปทางซ้าย 1 ตำแหน่ง เหมือนปุ่มลูกศร ซ้าย
l = ไปทางขวา 1 ตำแหน่ง เหมือนปุ่มลูกศร ขวา
H =ไปตำแหน่งตัวอักษรแรกของบรรทัดแรก ของหน้าจอ
M =ไปอยู่กลางจอภาพ
L = ไปที่อยู่ตัวอักษรแรก บรรทัดสุดท้ายของหน้าจอ
n+ =ลงบรรทัดล่างที่ละ n บรรทัด n ต้องเป็นตัวเลขใดๆ
n- =ขึ้นบรรทัดบนที่ละ n บรรทัด n ต้องเป็นตัวเลขใดๆ
G =ไปที่ตัวอักษรแรก บรรทัดสุดท้ายของไฟล์
NG =ไปที่ตัวอักษรแรก บรรทัดที่ N N ต้องเป็นตัวเลขใดๆ
^F = ไปที่หน้าถัดไปทีละหน้าจอ (กด CTRL + F)
^D = ไปที่หน้าถัดไปทีละครึ่งหน้าจอ (กด CTRL + D)
^B = ไปที่หน้าที่ผ่านมาแล้วทีละหน้าจอ (กด CTRL + B)
^U = ไปที่หน้าผ่านมาทีละครึ่งหน้าจอ (กด CTRL + U)
O =ไปที่ต้นบรรทัดเหมือนปุ่ม Home ในword process ทั่วๆไป
$ =ไปที่ท้ายบรรทัดเหมือนปุ่ม End ในword process ทั่วๆไป
[[ =ไปที่ตัวอักษรแรก บรรทัดแรกของไฟด์
[[ =ไปที่ตัวอักษรแรก บรรทัดสุดท้ายของไฟล์
การลบตัวอักษร
x = ลบตัวอักษรทีละตัวที่ตรงตำแหน่งเคอร์เซอร์อยู่
nx (n หมายถึงตัวอักษรจำนวน n ตัว ) ถ้าเราแทน n ด้วยตัวเลขใดๆ
หมายถึงจำนวนอักษรที่เราต้องการลบ
nX (ตัวใหญ่)คำสั่งนี้เหมือนกับปุ่ม Back Space ก็คือจะลบตัวอักษรก่อนหน้า
จำนวน n ตัวอักษร ก็จะคล้าย nx แต่จะทำงานต่างกัน
ndw เป็นการลบคำ ไม่ใช้ลบอักษร คือลบคำออกจำนวน n คำ นับตั้งแต่ตำแหน่งเคอร์เซอร์อยู่ไปทางขวา
dd เป็นการลบบรรทัดทั้งบรรทัด ตรงบรรทัดที่เคอร์เซอร์อยู่
ndd คำสั่งนี้จะลบบรรทัดจำนวน n บรรทัดลงมาจากตำแหน่งเคอร์เซอร์
d$ ลบตัวอักษรตั้งแต่ตำแหน่ง เคอร์เซอร์ไปจนหมดบรรทัด
dG ลบตัวอักษรตั้งแต่ตำแหน่ง เคอร์เซอร์ไปจนหมดสิ้นสุดแฟ้ม
m[,n]d จะทำการลบข้อความในบรรทัดที่ m ถึงบรรทัดที่ n คำสั่งที่ใช้เพิ่มข้อความ
คำสั่งเพิ่มข้อความ
a ใช้เพิ่มข้อความแทรกหลังตำแหน่งที่เคอร์เซอร์อยู่ 1 ตำแหน่ง
A ใช้เพิ่มข้อความท้ายบรรทัด ที่เคอร์เซอร์อยู่
i ใช้เพิ่มข้อความตรงตำแหน่งที่เคอร์เซอร์อยู่
I ใช้เพิ่มข้อความต้นบรรทัด ที่เคอร์เซอร์อยู่
o ใช้เพิ่มข้อความโดยการเพิ่มบรรทัดใหม่หนึ่งบรรทัดใต้บรรทัดที่เคอร์เซอร์อยู่
O ใช้เพิ่มข้อความโดยการเพิ่มบรรทัดใหม่หนึ่งตรงบรรทัดบนบรรทัดที่เคอร์เซอร์อยู่
จริง ๆ มีอีกเยอะครับ ผมก็จำได้ไม่หมดหรอก ครับ ...